วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การจำแนกผัก

การจำแนกพืชผัก (Vegetable Classification) สามารถจำแนกออกตามความแตกต่างลักษณะ ดังนี้
1. จำแนกตามความแตกต่างด้านพฤกษศาสตร์ (Botanical classification) เป็นการจำแนกพืชผักออกตามลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ เช่น ใช้ลักษณะของราก ใบ ดอก ผล และเมล็ดในการแบ่งพืชผักว่า อยู่ในตระกูล (Family) เดียวกันหรือไม่
การแบ่งพืชผักทางพฤกษศาสตร์จะแบ่งออกเป็นลำดับดังนี้
Plant kingdom อาณาจักรพืช
Sub kingdom อาณาจักรย่อย
Division จำพวก
Class ชั้น
Family วงศ์ หรือ ตระกูล
Genus สกุล
Species ชนิด
Variety พันธุ์

 ระบบการจำแนกพืชผักทางพฤกษศาสตร์นี้ สามารถใช้แสดงความสัมพันธ์ (Relationship) และมีประโยชน์ในด้านการวางแผนปรับปรุงพันธุ์ ซึ่ง Bailey (1925) ได้จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม (Subcommunity) คือ
1. Thallophyta ได้แก่ พวก Thallophytes ซึ่งเป็นพืชชั้นต่ำไม่มีราก ลำต้น และใบ เช่น พวกแบคทีเรีย สาหร่าย(algea) รา(fungi) และไลเคน(Lichen)
2. Bryophyta เช่น พวก liverworts และ mosses
3. Pteridophyta เช่น พวก fern and their allies
4. Spermatophyta เช่น พวกพืชชั้นสูง หรือพืชที่มีเมล็ดซึ่งพืชผักก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
โดยที่ Spermatophyta นี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 Divisions คือ
4.1 Gymnospermae พวกนี้จะมีไข่ (Ovule) อยู่นอกรังไข่ (Ovary)
4.2 Angispermae พวกนี้จะไข่ (Ovule) อยู่ในรังไข่ (Ovary) ซึ่งพืชผักก็อยู่ใน Division นี้ และสามารถแบ่งออกเป็น 2 classes ได้แก่
4.2.1 Class Monocotyledoneae เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น หอม กระเทียม ข้าวโพด หน่อไม้ฝรั่ง ขิง
4.2.2 Class Dicotyledoneae เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ เช่น ผักกาด กะหล่ำต่างๆ แตงต่างๆ นอกจากนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 series ได้แก่
4.2.2.1 Choripetalae เป็นพืชผักที่มีกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกจะแยกออกจากกันเป็นหลายกลีบอย่างเห็นได้ชัด
4.2.2.2 Gramopetalae เป็นพืชผักที่มีกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกรวมกันเป็นกลีบเดียว


2. จำแนกตามสภาพอากาศที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต
( Classification based on hardiness) เป็นการจำแนกกลุ่มพืชโดย
พิจารณาความสามารถในการทนทานต่อสภาพอากาศที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
2.1 พืชที่สามารถทนต่ออากาศหนาวเย็น (hardly vegetable) เป็นพืชผักที่ ปลูกได้ดีในอากาศเย็น แม้ว่าจะเย็นจนถึง จุดเยือกแข็งก็ไม่เสียหาย แต่ถ้านำมาปลูกในเขต อากาศร้อนจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เรียกว่า พวก Hardy เช่น มันฝรั่ง ถั่วปากอ้า ถั่วลันเตา และกะหล่ำปลี เป็นต้น
2.2 พืชที่ทนต่ออากาศต่ออากาศหนาวเย็นได้บ้าง (semi-hardly vegetable) เป็นพืชผักที่ไม่ สามารถทนอากาศหนาวเย็นจัดได้ คือ ทนต่อ ความร้อนและความเย็นได้ พอประมาณเจริญได้ดีในอุณหภูมิ 15-18 องศา เซลเซียส เรียกว่า พวก Half-hardy เช่น ผักกาดหอม คื่นช่าย บีท แครอท เป็นต้น
2.3 พืชผักที่ไม่ทนต่อความหนาวเย็น (tender vergetable) เป็นพืชผักที่ไม่ สามารถทนต่ออากาศหนาวเย็นได้เลย สามารถเจริญได้ดี ในอุณหภูมิ 25-30 องศา เซลเซียส เรียกว่า พวก Tender เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วแขก พริก มะเขือต่างๆ แตงต่างๆ ผักบุ้ง กระเจี๊ยบ และผักชี เป็นต้น


 3. จำแนกตามส่วนต่างๆของลำดับที่นำมาใช้เป็นอาหาร (Classification based on parts used) เป็นการจำแนกพืชผักออกตามส่วนต่างๆของพืชผักที่นำมาเป็นอาหาร
3.1 ส่วนที่อยู่ใต้ดินที่สามารถนำมาเป็นอาหาร ได้แก่
ก. รากใต้ดิน (Root) เช่น ผักกาดหัว บีท แครอท เทอร์นิพ มันเทศ และมันแกว เป็นต้น
ข. ลำต้นใต้ดิน (Tuber) เช่น มันฝรั่ง เป็นต้น
ค. หัวใต้ดิน (Corm) เช่น เผือก เป็นต้น
ง. หัวใต้ดิน (Bulb) เช่น หอมหัวใหญ่ หอมแดง และกระเทียมหัว เป็นต้น
จ. ลำต้นใต้ดิน (Rhizome) เช่น ขิง และขมิ้น เป็นต้น
3.2 ส่วนของลำต้นและใบที่นำมาเป็นอาหาร เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำปม ผักกาดต่างๆ หน่อไม้ฝรั่ง และผักสลัดต่างๆ เป็นต้น
3.3 ส่วนของดอกไม้และช่อดอกที่นำมาเป็นอาหาร เช่น กุยช่าย กะหล่ำดอก กะหล่ำดอกอิตาเลี่ยน เป็นต้น
3.4 ส่วนของผลที่นำมาเป็นอาหาร เช่น กระเจี๊ยบ ถั่วต่างๆ มะเขือ พริก มะระ น้ำเต้า แตงโม และแตงกวา เป็นต้น
3.5 ส่วนของเมล็ดที่นำมาเป็นอาหาร เช่น ถั่วลันเตา เป็นต้น
3.6 เห็ดต่างๆ ซึ่งถือเป็นพืชชั้นต่ำที่ลำต้นไม่มีข้อและปล้อง และมีใบที่สังเคราะห์แสงไม่ได้

จ 4.จำแนกตามความแตกต่างด้านการเพาะปลูกและบำรุงรักษา (Classification based on essential method of culture) เป็น การจำแนกพืชผักออกตามความแตกต่างด้านการเพาะปลูกและบำรุงรักษาซึ่งแบ่งได้เป็น 13 กลุ่ม ดังนี้
4.1 พืชผักยืนต้น (Pernial crops) ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง
4.2 พืชผักกินใบ ได้แก่ คะน้า ปวยเล็ง ผักบุ้ง
4.3 พืชผักสลัด ได้แก่ ผักสลัดต่างๆ (ผักกาดหอม) คื่นฉ่าย
4.4 พืชผักกะหล่ำ-ผักกาด ได้แก่ กะหล่ำต่างๆ ผักกาดต่างๆ
4.5 พืชผักกินรากหรือหัว ได้แก่ ผักกาดหัว แครอท บีท
4.6 พืชผักตระกูลหอม-กระเทียม ได้แก่ หอม กระเทียม หอมหัวใหญ่
4.7 พืชผักตระกูลมันฝรั่ง ได้แก่ มันฝรั่ง
4.8 ลำต้นใต้ดิน ได้แก่ มันเทศ
4.9 พืชผักตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว ถั่วแขก
4.10 พืชผักตระกูลมะเขือเทศ-พริก ได้แก่ มะเขือต่างๆ มะเขือเทศ และพริก
4.11 พืชผักตระกูลแตง ได้แก่ แตงต่างๆ ฟัก แฟง บวบ มะระ และน้ำเต้า
4.12 ข้าวโพด ได้แก่ ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดฝักอ่อน
4.13 พืชผักเครื่องเทศ,เบ็ดเตล็ด ได้แก่ ขิง ข่า กระชาย ขมิ้น ตะไคร้ โหระพา แมงลัก สะระแหน่ มันแกว และเผือก


5. จำแนกตามฤดูกาล (Classification based on season) เป็นการจำแนกพืชผักตามช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของพืชผัก แต่ละชนิด ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
ก. พืชผักฤดูร้อน (Warm season vegetable) ซึ่งสามรถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 15.2 - 21 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดประจำเดือน ไม่เกิน 26.5 องศา เซลเซียส ได้แก่ ถั่วแขก ถั่วไลม่า เป็นต้น
2. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 15.5 - 24 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสและ อุณหภูมิเฉลี่ย
สูงสุดประจำเดือนไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ เป็นต้น
3. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 18.3 - 24 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 18.3 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิเฉลี่ย สูงสุดประจำเดือนไม่เกิน 32 องศาเซลเซียส ได้แก่ แตงกวา แคนตาลูป เป็นต้น
4. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 21 - 24 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 18.3 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ย สูงสุดประจำเดือนไม่เกิน 26.5 องศาเซลเซียส ได้แก่ พริกหวาน พริกยักษ์ มะเขือเทศ เป็นต้น
5. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 21 - 31 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 18.3 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ย สูงสุดประจำเดือนไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ได้แก่ พริก มะเขือ กระเจี๊ยบ มันเทศ แตงไทย เป็นต้น



ข. พืชผักฤดูหนาว (Cool season vegetable) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 13 - 24 องศาเซลเซียส หรือ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 7 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดประจำ เดือนไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส ได้แก่ กระเทียม กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ ชิโครี่ เป็นต้น
2. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 15.5 - 18.3 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 4.4 องศาเซลเซีย และอุณหภูมิเฉลี่ย สูงสุด ประจำเดือนไม่เกิน 24 องศาเซลเซียส ได้แก่ บีท กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว กะหล่ำปม คะน้า แรดิช ปวยเล็ง เทอร์นิพ เป็นต้น
3. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 15.51 - 18.3 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 7 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด ประจำเดือนไม่เกิน 21-24 องศาเซลเซียส ได้แก่ อาร์ติโช๊ค แครอท กะหล่ำดอก คื่นช่าย ผักกาดขาวปลี ผักกาดหอม ถั่วลันเตา มันฝรั่ง เป็นต้น



โดยทั่วไปพืชผักฤดูหนาวจะแตกต่างจากพืชผักฤดูร้อน ดังต่อไปนี้
1. สามารถทนต่ออากาศหนาวเย็นต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส และน้ำค้างได้
2. เมล็ดสามารถงอกในดินที่มีอุณหภูมิต่ำๆได้
3. ระบบของรากหยั่งตื้นกว่าพืชฤดูร้อน
4. ตอบสนองธาตุไนโตรเจนได้ดีกว่า เช่น เมื่อให้ไนโตรเจนพืชผักฤดูหนาวจะให้ ผลผลิตสูงขึ้น
5. ต้องการน้ำมากกว่าพืชผักฤดูร้อน
6. ผลิตผลที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว จะต้องเก็บไว้รอจำหน่ายในที่ที่มีอุณหภูมิใกล้ๆ 0 องศาเซลเซียส ยก เว้นมันฝรั่งซึ่งต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิ 3.3 - 10 องศาเซลเซียส แต่พืชผักฤดูร้อนชนิดเดียวที่ต้องเก็บผลผลิตไว้ที่ 0 องศาเซลเซียส คือ ข้าวโพด
7. ผลผลิตที่นำมาเก็บไว้ห้องที่มีอุณหภูมิ 0-10 องศาเซลเซียส จะไม่ทำให้เกิด การเน่าเสีย ช้ำ หรือ เสียหายเนื่องจากถูกอากาศเย็นจัดเกินไป (Chilling injury)
8. พืชผัก 2 ฤดูบางชนิด มักจะออกดอกในช่วงที่อุณหภูมิต่ำ เช่น กะหล่ำปลี ถ้าได้รับอากาศเย็น จัดติดต่อกันนานในระหว่างกำลังเจริญเติบโตจะออกดอกก่อนถึง อายุที่จะออกดอกจริงๆ

อ้างอิง http://www.ผัก.net/ผักคืออะไร/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น