วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ผัก คือ ?


พืชผัก ตรงกับคำว่า Vegetable ในภาษาอังกฤษ และ Olericulture ในภาษาลาติน มีความหมายกว้างมาก ไม่สามารถใช้เกณฑ์อะไรมาตัดสินได้แน่นอน ว่าพืชชนิดใดบ้างที่จัดเป็นพืชผัก แม้แต่พืชชนิดเดียวกันแต่ละประเทศยังจัดกลุ่ม ของพืชต่างกันออกไป เช่น มะเขือเทศ ในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ สหรัฐอเมริกาจัดเป็นพืชผัก แต่กลุ่มประเทศทางยุโรปจัดเป็นผลไม้โดยปลูกเพื่อใช้รับ ประทานเป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง ส่วนสตรอเบอรี่ในประเทศญี่ปุ่นจัดอยู่ในกลุ่มพืชผัก โดยนำมารับประทานเป็นสลัดเนื่องจากมีรสเปรี้ยว แต่ประเทศไทยเรานิยมปลูกเพื่อ รับประทานเป็นผลไม้
สำหรับประเทศไทยคำว่า "พืชผัก" ที่นำมารับประทานนั้นมีหลายชนิดทั้งที่ มีชื่อเรียกว่า "ผัก" นำหน้า เช่น ผักกาดขาว ผักกาดหอม ผักบุ้ง ผักชี ผักกาดเขียวปลี เป็นต้น และที่ไม่มีคำว่า "ผัก" นำหน้า เช่น มันฝรั่ง มะเขือเทศ แตงกวา ฟักทอง ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว เป็นต้น รวมทั้งพืชอื่นๆที่ไม่ได้จัดเป็นผัก สามารถนำมาใช้ บริโภคเป็นพืชผัก เช่น
- พืชไร่ ได้แก่ ใบปอกระเจาสามารถนำมาผัดเป็นอาหาร เป็นต้น
- ไม้ผล ได้แก่ มะละกอดิบ มะม่วงดิบ สามารถนำมาประกอบอาหารได้
- วัชพืช ได้แก่ ใบตำลึง ผักบุ้งไทย ผักกระเฉด สามารถนำมาประกอบอาหารได้
คลิกชมภาพต่อไป

อ้างอิง http://www.ผัก.net/ผักคืออะไร/

การจำแนกผัก

การจำแนกพืชผัก (Vegetable Classification) สามารถจำแนกออกตามความแตกต่างลักษณะ ดังนี้
1. จำแนกตามความแตกต่างด้านพฤกษศาสตร์ (Botanical classification) เป็นการจำแนกพืชผักออกตามลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ เช่น ใช้ลักษณะของราก ใบ ดอก ผล และเมล็ดในการแบ่งพืชผักว่า อยู่ในตระกูล (Family) เดียวกันหรือไม่
การแบ่งพืชผักทางพฤกษศาสตร์จะแบ่งออกเป็นลำดับดังนี้
Plant kingdom อาณาจักรพืช
Sub kingdom อาณาจักรย่อย
Division จำพวก
Class ชั้น
Family วงศ์ หรือ ตระกูล
Genus สกุล
Species ชนิด
Variety พันธุ์

 ระบบการจำแนกพืชผักทางพฤกษศาสตร์นี้ สามารถใช้แสดงความสัมพันธ์ (Relationship) และมีประโยชน์ในด้านการวางแผนปรับปรุงพันธุ์ ซึ่ง Bailey (1925) ได้จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม (Subcommunity) คือ
1. Thallophyta ได้แก่ พวก Thallophytes ซึ่งเป็นพืชชั้นต่ำไม่มีราก ลำต้น และใบ เช่น พวกแบคทีเรีย สาหร่าย(algea) รา(fungi) และไลเคน(Lichen)
2. Bryophyta เช่น พวก liverworts และ mosses
3. Pteridophyta เช่น พวก fern and their allies
4. Spermatophyta เช่น พวกพืชชั้นสูง หรือพืชที่มีเมล็ดซึ่งพืชผักก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
โดยที่ Spermatophyta นี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 Divisions คือ
4.1 Gymnospermae พวกนี้จะมีไข่ (Ovule) อยู่นอกรังไข่ (Ovary)
4.2 Angispermae พวกนี้จะไข่ (Ovule) อยู่ในรังไข่ (Ovary) ซึ่งพืชผักก็อยู่ใน Division นี้ และสามารถแบ่งออกเป็น 2 classes ได้แก่
4.2.1 Class Monocotyledoneae เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น หอม กระเทียม ข้าวโพด หน่อไม้ฝรั่ง ขิง
4.2.2 Class Dicotyledoneae เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ เช่น ผักกาด กะหล่ำต่างๆ แตงต่างๆ นอกจากนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 series ได้แก่
4.2.2.1 Choripetalae เป็นพืชผักที่มีกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกจะแยกออกจากกันเป็นหลายกลีบอย่างเห็นได้ชัด
4.2.2.2 Gramopetalae เป็นพืชผักที่มีกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกรวมกันเป็นกลีบเดียว


2. จำแนกตามสภาพอากาศที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต
( Classification based on hardiness) เป็นการจำแนกกลุ่มพืชโดย
พิจารณาความสามารถในการทนทานต่อสภาพอากาศที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
2.1 พืชที่สามารถทนต่ออากาศหนาวเย็น (hardly vegetable) เป็นพืชผักที่ ปลูกได้ดีในอากาศเย็น แม้ว่าจะเย็นจนถึง จุดเยือกแข็งก็ไม่เสียหาย แต่ถ้านำมาปลูกในเขต อากาศร้อนจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เรียกว่า พวก Hardy เช่น มันฝรั่ง ถั่วปากอ้า ถั่วลันเตา และกะหล่ำปลี เป็นต้น
2.2 พืชที่ทนต่ออากาศต่ออากาศหนาวเย็นได้บ้าง (semi-hardly vegetable) เป็นพืชผักที่ไม่ สามารถทนอากาศหนาวเย็นจัดได้ คือ ทนต่อ ความร้อนและความเย็นได้ พอประมาณเจริญได้ดีในอุณหภูมิ 15-18 องศา เซลเซียส เรียกว่า พวก Half-hardy เช่น ผักกาดหอม คื่นช่าย บีท แครอท เป็นต้น
2.3 พืชผักที่ไม่ทนต่อความหนาวเย็น (tender vergetable) เป็นพืชผักที่ไม่ สามารถทนต่ออากาศหนาวเย็นได้เลย สามารถเจริญได้ดี ในอุณหภูมิ 25-30 องศา เซลเซียส เรียกว่า พวก Tender เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วแขก พริก มะเขือต่างๆ แตงต่างๆ ผักบุ้ง กระเจี๊ยบ และผักชี เป็นต้น


 3. จำแนกตามส่วนต่างๆของลำดับที่นำมาใช้เป็นอาหาร (Classification based on parts used) เป็นการจำแนกพืชผักออกตามส่วนต่างๆของพืชผักที่นำมาเป็นอาหาร
3.1 ส่วนที่อยู่ใต้ดินที่สามารถนำมาเป็นอาหาร ได้แก่
ก. รากใต้ดิน (Root) เช่น ผักกาดหัว บีท แครอท เทอร์นิพ มันเทศ และมันแกว เป็นต้น
ข. ลำต้นใต้ดิน (Tuber) เช่น มันฝรั่ง เป็นต้น
ค. หัวใต้ดิน (Corm) เช่น เผือก เป็นต้น
ง. หัวใต้ดิน (Bulb) เช่น หอมหัวใหญ่ หอมแดง และกระเทียมหัว เป็นต้น
จ. ลำต้นใต้ดิน (Rhizome) เช่น ขิง และขมิ้น เป็นต้น
3.2 ส่วนของลำต้นและใบที่นำมาเป็นอาหาร เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำปม ผักกาดต่างๆ หน่อไม้ฝรั่ง และผักสลัดต่างๆ เป็นต้น
3.3 ส่วนของดอกไม้และช่อดอกที่นำมาเป็นอาหาร เช่น กุยช่าย กะหล่ำดอก กะหล่ำดอกอิตาเลี่ยน เป็นต้น
3.4 ส่วนของผลที่นำมาเป็นอาหาร เช่น กระเจี๊ยบ ถั่วต่างๆ มะเขือ พริก มะระ น้ำเต้า แตงโม และแตงกวา เป็นต้น
3.5 ส่วนของเมล็ดที่นำมาเป็นอาหาร เช่น ถั่วลันเตา เป็นต้น
3.6 เห็ดต่างๆ ซึ่งถือเป็นพืชชั้นต่ำที่ลำต้นไม่มีข้อและปล้อง และมีใบที่สังเคราะห์แสงไม่ได้

จ 4.จำแนกตามความแตกต่างด้านการเพาะปลูกและบำรุงรักษา (Classification based on essential method of culture) เป็น การจำแนกพืชผักออกตามความแตกต่างด้านการเพาะปลูกและบำรุงรักษาซึ่งแบ่งได้เป็น 13 กลุ่ม ดังนี้
4.1 พืชผักยืนต้น (Pernial crops) ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง
4.2 พืชผักกินใบ ได้แก่ คะน้า ปวยเล็ง ผักบุ้ง
4.3 พืชผักสลัด ได้แก่ ผักสลัดต่างๆ (ผักกาดหอม) คื่นฉ่าย
4.4 พืชผักกะหล่ำ-ผักกาด ได้แก่ กะหล่ำต่างๆ ผักกาดต่างๆ
4.5 พืชผักกินรากหรือหัว ได้แก่ ผักกาดหัว แครอท บีท
4.6 พืชผักตระกูลหอม-กระเทียม ได้แก่ หอม กระเทียม หอมหัวใหญ่
4.7 พืชผักตระกูลมันฝรั่ง ได้แก่ มันฝรั่ง
4.8 ลำต้นใต้ดิน ได้แก่ มันเทศ
4.9 พืชผักตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว ถั่วแขก
4.10 พืชผักตระกูลมะเขือเทศ-พริก ได้แก่ มะเขือต่างๆ มะเขือเทศ และพริก
4.11 พืชผักตระกูลแตง ได้แก่ แตงต่างๆ ฟัก แฟง บวบ มะระ และน้ำเต้า
4.12 ข้าวโพด ได้แก่ ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดฝักอ่อน
4.13 พืชผักเครื่องเทศ,เบ็ดเตล็ด ได้แก่ ขิง ข่า กระชาย ขมิ้น ตะไคร้ โหระพา แมงลัก สะระแหน่ มันแกว และเผือก


5. จำแนกตามฤดูกาล (Classification based on season) เป็นการจำแนกพืชผักตามช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของพืชผัก แต่ละชนิด ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
ก. พืชผักฤดูร้อน (Warm season vegetable) ซึ่งสามรถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 15.2 - 21 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดประจำเดือน ไม่เกิน 26.5 องศา เซลเซียส ได้แก่ ถั่วแขก ถั่วไลม่า เป็นต้น
2. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 15.5 - 24 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสและ อุณหภูมิเฉลี่ย
สูงสุดประจำเดือนไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ เป็นต้น
3. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 18.3 - 24 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 18.3 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิเฉลี่ย สูงสุดประจำเดือนไม่เกิน 32 องศาเซลเซียส ได้แก่ แตงกวา แคนตาลูป เป็นต้น
4. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 21 - 24 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 18.3 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ย สูงสุดประจำเดือนไม่เกิน 26.5 องศาเซลเซียส ได้แก่ พริกหวาน พริกยักษ์ มะเขือเทศ เป็นต้น
5. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 21 - 31 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 18.3 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ย สูงสุดประจำเดือนไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ได้แก่ พริก มะเขือ กระเจี๊ยบ มันเทศ แตงไทย เป็นต้น



ข. พืชผักฤดูหนาว (Cool season vegetable) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 13 - 24 องศาเซลเซียส หรือ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 7 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดประจำ เดือนไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส ได้แก่ กระเทียม กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ ชิโครี่ เป็นต้น
2. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 15.5 - 18.3 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 4.4 องศาเซลเซีย และอุณหภูมิเฉลี่ย สูงสุด ประจำเดือนไม่เกิน 24 องศาเซลเซียส ได้แก่ บีท กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว กะหล่ำปม คะน้า แรดิช ปวยเล็ง เทอร์นิพ เป็นต้น
3. กลุ่มพืชผักที่ชอบอุณหภูมิเฉลี่ยประจำเดือนในช่วง 15.51 - 18.3 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดประจำเดือนไม่ต่ำกว่า 7 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด ประจำเดือนไม่เกิน 21-24 องศาเซลเซียส ได้แก่ อาร์ติโช๊ค แครอท กะหล่ำดอก คื่นช่าย ผักกาดขาวปลี ผักกาดหอม ถั่วลันเตา มันฝรั่ง เป็นต้น



โดยทั่วไปพืชผักฤดูหนาวจะแตกต่างจากพืชผักฤดูร้อน ดังต่อไปนี้
1. สามารถทนต่ออากาศหนาวเย็นต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส และน้ำค้างได้
2. เมล็ดสามารถงอกในดินที่มีอุณหภูมิต่ำๆได้
3. ระบบของรากหยั่งตื้นกว่าพืชฤดูร้อน
4. ตอบสนองธาตุไนโตรเจนได้ดีกว่า เช่น เมื่อให้ไนโตรเจนพืชผักฤดูหนาวจะให้ ผลผลิตสูงขึ้น
5. ต้องการน้ำมากกว่าพืชผักฤดูร้อน
6. ผลิตผลที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว จะต้องเก็บไว้รอจำหน่ายในที่ที่มีอุณหภูมิใกล้ๆ 0 องศาเซลเซียส ยก เว้นมันฝรั่งซึ่งต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิ 3.3 - 10 องศาเซลเซียส แต่พืชผักฤดูร้อนชนิดเดียวที่ต้องเก็บผลผลิตไว้ที่ 0 องศาเซลเซียส คือ ข้าวโพด
7. ผลผลิตที่นำมาเก็บไว้ห้องที่มีอุณหภูมิ 0-10 องศาเซลเซียส จะไม่ทำให้เกิด การเน่าเสีย ช้ำ หรือ เสียหายเนื่องจากถูกอากาศเย็นจัดเกินไป (Chilling injury)
8. พืชผัก 2 ฤดูบางชนิด มักจะออกดอกในช่วงที่อุณหภูมิต่ำ เช่น กะหล่ำปลี ถ้าได้รับอากาศเย็น จัดติดต่อกันนานในระหว่างกำลังเจริญเติบโตจะออกดอกก่อนถึง อายุที่จะออกดอกจริงๆ

อ้างอิง http://www.ผัก.net/ผักคืออะไร/

รู้ไหมว่าในผักมีสารอาหารอะไร

ผักอุดมไปด้วย วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารพฤกเคมี (ประโยชน์ของผักหลากสี) ช่วยเสริมสร้าง ควบคุมการทำงาน และช่วยควบคุมการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย หลักแล้วสารอาหารที่มีอยู่ในผักสามาระแบ่งได้คร่าวๆดังนี้
ผักมีวิตามินซี
ได้แก่ คะน้า กะหล่ำปลี ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศสีดา ผักกวางตุ้ง ข้าวโพดอ่อน ชะอม บร็อคโคลี่ ดอกกะหล่ำ
  • ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคหวัดเจ็บคอ ภูมิแพ้
  • ใช้ผลิตคอลลาเจน ช่วยให้เซลล์เกาะกันทำให้ผิวพรรณเต่งตึงสดใส
  • ช่วยเม็ดเลือดแดงต่อสู้กับเชื้อโรค เป็นแผลหายเร็ว
  • ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กและแคลเซียมของร่างกายเป็นไปด้วยดี
ผักมีวิตามินบี 1,2
ได้แก่ ข้าวกล้อง และข้าวที่ยังไม่ถูกขัดสี ถั่วต่างๆ รำข้าว ข้าวซ้อมมือ งา กระเทียม ผักใบเขียว
  • ช่วยบำรุงระบบประสาท สมอง ทำให้มีสมาธิความจำดี
  • เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรทให้เป็นพลังงาน
  • ป้องกันผิวหนังอักเสบ
ผักมีเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอ
ผักที่มีเบต้าแคโรทีนได้แก่ ผักขม บร็อคโคบลี่ แครอท มะเขือเทศ ฟักทอง
ผักที่มีวิตมินเอสูง ได้แก่ ใบยอ ใบย่านาง ใบชะพลู ตำลึง (ใบและยอดอ่อน) ผักกูด มะระ (ยอดอ่อน) ผักกะสัง  ผักแพว ผักชีลาว ผักแว่น ผักบุ้งขาว ใบบัวบก ใบเหรียง กระเจี๊ยบเปรี้ยวหรือกระเจี๊ยบแดง (ใบ) ใบแมงลัก ชะอม (ยอด) พริกชี้ฟ้าแดง ผักแพงพวย ผักปลัง ขี้เหล็ก (ดอก)
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวทำลายเซลล์ ในร่างกาย
  • ช่วยในระบบสายตาและการมองเห็น
  • ช่วยทำให้เนื้อเยื่ออ่อนของเซลล์ และผิวหนังชุ่มชื้น
ผักมีไนอาซิน หรือ วิตามิน บี3
ได้แก่ ข้าว
  • ช่วยในการสร้างน้ำย่อย
  • ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ
  • ช่วยบำรุงสุขภาพผิวพรรณ
ผักมีคาร์โบไฮเดรต
ได้แก่ มันฝรั่ง มันเทศ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วและถั่วฝักต่างๆ
  • พวกแป้งและน้ำตาลกลูโคส ทำให้ผักสดมีรสหวานอ่อน กินอร่อย
  • เซลลูโลส เป็นเส้นใยช่วยในการขับถ่าย ช่วยดูดซับสารที่ไม่ต้องการออกจากกระเพาะลำไส้ ชะลอการดูดซึมน้ำตาลและช่วยให้อิ่มเร็ว
ผักมีแคลเซียมและฟอสฟอรัส
ด้แก่ ผักแพว ยอดสะเดา กระเพราขาว
  • ช่วยบำรุงกระดูก และฟัน
ผักมีธาตุเหล็ก
ได้แก่ มะเขือพวง ผักโขม ใบชะพลู ดอกแค ตำลึง
  • ช่วยบำรุงเลือดเป็นตัวนำเอาออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงยังเซลส์ต่างๆ
รู้อย่างนี้แล้วก็เลิกสงสัยได้แล้วค่ะว่าทำไมผู้ใหญ่จึงสอนและเคี่ยวเข็นให้เราทานผักเยอะๆ

อ้างอิง http://www.lovefitt.com/healthy-fact/ 

ประโยชน์ของผักแต่ละสี



สีชมพูจนถึงสีแดง
ไลโคปีน เป็นเม็ดสีที่ให้สารสีแดงในผัก-ผลไม้จำพวกแตงโม มะเขือเทศ ในขณะที่สารเบต้า-แคโรทีน ให้สีแดงในลูกทับทิม บีทรูทและแคนเบอร์รี่ สารทั้ง 2 ชนิดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหรือแอนตี้อ๊อกซิเดนท์ ที่ทราบกันดีว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในหลายชนิด มะเขือเทศที่สุกแล้วจะให้ไลโคปีนสูงกว่ามะเขือเทศดิบ และการรับประทานไขมันเล็กน้อย อย่างเช่นน้ำมันมะกอก จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมไลโคปีนได้ดียิ่งขึ้น


สีส้ม
ผักและผลไม้ในสีส้มเช่น มะละกอ แครอท มีสารเบต้า-แคโรทีน ซึ่งมีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระ อันเป็นตัวการก่อให้กิดโรคมะเร็ง กระทรวงเกษตรฯของสหรัฐอเมริกาเผยว่า การรับประทานแครอทวันละ 2-3 หัว จะช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลในเลือด ส่วนคนที่มีผิวขาวซีด เมื่อทานมะละกอหรือแครอทเป็นประจำ ผิวจะมีสีเหลืองนวลสวยงาม อีกทั้งการทานมะละกอห่ามเป็นเวลา 2 ปี จะช่วยลดการเกิดฝ้าบนใบหน้าให้จางลงได้ โดยที่ไม่ต้องซื้อครีมทาฝ้าให้สิ้นเปลือง

สีเหลือง
ลูเทียน คือสารสีเหลืองที่ให้สีสันแก่ข้าวโพด ช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดสี หรือแสงสีของเรติน่าดวงตา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุมองไม่เห็น

สีเขียว
คลอโรฟิลล์ เป็นสารที่ให้สีเขียวในผักต่างๆที่มีสีเขียวเข้มมากๆ เช่น ตำลึง คะน้า บลอคโคลี่ ชะพลู บัวบกเป็นต้น ผักยิ่งมีสีเขียวมากก็จะมีคลอโรฟิลล์มาก โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่า เมื่อคลอโรฟิลล์ถูกย่อยแล้ว จะมีพลังในการป้องกันมะเร็งมากขึ้น ทั้งยังช่วยขจัดกลิ่นเหม็นต่างๆในตัวคน ซึ่งคุณภาพดีกว่าน้ำหอมที่เราใช้อยู่อีกต่างหาก

สีน้ำเงินและสีม่วง
สารแอนโทไซยานิน เป็นสารที่อยู่ในพืชสีม่วงเช่น ดอกอัญชัน มะเขือม่วง แบล็คเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ นักวิทยาศาสตร์พบว่าคุณสมบัติของแอนโทไซยานิน จะช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งและยังออกฤทธิ์ในการขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและโรคอัมพาต

สีขาว
ผักและผลไม้ที่มีสีขาว จะอุดมไปด้วยสารอัลลิซิน ซึ่งช่วยด้านการเกิดเนื้อร้าย อันจะก่อให้เกิดมะเร็งต่อไป

สารพัดประโยชน์อย่างนี้นี่เอง ที่มักจะมีคำแนะนำว่าคนเราควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลายสีสันเข้าไว้ เพราะต่างสีต่างชนิดกันคุณค่าทางอาหารย่อมไม่เหมือนกัน ยิ่งทานหลากสีสันมากก็เท่ากับได้รับสารอาหารที่เป็นภูมิต้านทานโรคเพิ่มมากขึ้น

อ้างอิง http://www.yuanyangthailand.com/pages/


ประโยชน์และสารอาหารในผัก


ประโยชน์และสารอาหารในผัก
คนไทยถือว่าโชคดีที่มีทั้งอาหาร พืชผักและผลไม้หลายชนิดให้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้อน หน้าแล้ง หน้าฝนตก น้ำหลาก ผักก็ไม่เคยขาดตลาด หาได้ง่ายและราคาถูกกว่าอาหารอื่นๆ การบริโภคผักหลากหลายชนิดทำให้ได้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายอย่าง แตกต่างกันไป อาจจะแนกด้วย สี หรือ สารอาหารก็ได้

รู้ไหมว่าในผักมีสารอาหารอะไร

ผักอุดมไปด้วย วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารพฤกเคมี (ประโยชน์ของผักหลากสี) ช่วยเสริมสร้าง ควบคุมการทำงาน และช่วยควบคุมการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย หลักแล้วสารอาหารที่มีอยู่ในผักสามาระแบ่งได้คร่าวๆดังนี้
ผักมีวิตามินซี
ได้แก่ คะน้า กะหล่ำปลี ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศสีดา ผักกวางตุ้ง ข้าวโพดอ่อน ชะอม บร็อคโคลี่ ดอกกะหล่ำ
  • ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคหวัดเจ็บคอ ภูมิแพ้
  • ใช้ผลิตคอลลาเจน ช่วยให้เซลล์เกาะกันทำให้ผิวพรรณเต่งตึงสดใส
  • ช่วยเม็ดเลือดแดงต่อสู้กับเชื้อโรค เป็นแผลหายเร็ว
  • ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กและแคลเซียมของร่างกายเป็นไปด้วยดี
ผักมีวิตามินบี 1,2
ได้แก่ ข้าวกล้อง และข้าวที่ยังไม่ถูกขัดสี ถั่วต่างๆ รำข้าว ข้าวซ้อมมือ งา กระเทียม ผักใบเขียว
  • ช่วยบำรุงระบบประสาท สมอง ทำให้มีสมาธิความจำดี
  • เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรทให้เป็นพลังงาน
  • ป้องกันผิวหนังอักเสบ
ผักมีเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอ
ผักที่มีเบต้าแคโรทีนได้แก่ ผักขม บร็อคโคบลี่ แครอท มะเขือเทศ ฟักทอง
ผักที่มีวิตมินเอสูง ได้แก่ ใบยอ ใบย่านาง ใบชะพลู ตำลึง (ใบและยอดอ่อน) ผักกูด มะระ (ยอดอ่อน) ผักกะสัง  ผักแพว ผักชีลาว ผักแว่น ผักบุ้งขาว ใบบัวบก ใบเหรียง กระเจี๊ยบเปรี้ยวหรือกระเจี๊ยบแดง (ใบ) ใบแมงลัก ชะอม (ยอด) พริกชี้ฟ้าแดง ผักแพงพวย ผักปลัง ขี้เหล็ก (ดอก)
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวทำลายเซลล์ ในร่างกาย
  • ช่วยในระบบสายตาและการมองเห็น
  • ช่วยทำให้เนื้อเยื่ออ่อนของเซลล์ และผิวหนังชุ่มชื้น
ผักมีไนอาซิน หรือ วิตามิน บี3
ได้แก่ ข้าว
  • ช่วยในการสร้างน้ำย่อย
  • ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ
  • ช่วยบำรุงสุขภาพผิวพรรณ
ผักมีคาร์โบไฮเดรต
ได้แก่ มันฝรั่ง มันเทศ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วและถั่วฝักต่างๆ
  • พวกแป้งและน้ำตาลกลูโคส ทำให้ผักสดมีรสหวานอ่อน กินอร่อย
  • เซลลูโลส เป็นเส้นใยช่วยในการขับถ่าย ช่วยดูดซับสารที่ไม่ต้องการออกจากกระเพาะลำไส้ ชะลอการดูดซึมน้ำตาลและช่วยให้อิ่มเร็ว
ผักมีแคลเซียมและฟอสฟอรัส
ด้แก่ ผักแพว ยอดสะเดา กระเพราขาว
  • ช่วยบำรุงกระดูก และฟัน
ผักมีธาตุเหล็ก
ได้แก่ มะเขือพวง ผักโขม ใบชะพลู ดอกแค ตำลึง
  • ช่วยบำรุงเลือด
  • เป็นตัวนำเอาออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงยังเซลส์ต่างๆ
อ้างอิง www.lovefitt.com/healthy-fact/ประโยชน์และสารอาหารในผัก/

พืชผักสวนครัว



พืชผักสวนครัว หมายถึง พืชที่ใช้ส่วนต่างๆ เป็นอาหาร เช่น ลำต้น ใบ ดอก ผล และหัว พืชผักสวนครัวสามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการนำมาประกอบอาหารได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. ใช้ผลเป็นอาหาร เช่น แตงกวา มะเขือเทศ พริกหวาน
2. ใช้ใบและลำต้นเป็นอาหาร เช่น ผักกาดขาว ตำลึง ผักคะน้า สะระแหน่
3. ใช้ดอกเป็นอาหาร เช่น กะปล่ำดอก ดอกแค บร็อคโคลี่
4. ใช้หัวหรือรากที่อยู่ใต้ดินเป็นอาหาร เช่น หอมหัวใหญ่ แครอต กระเทียม ขิง
พืชผักสวนครัวเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกลือแร่ และวิตามิน การบริโภค
ประโยชน์ของพืชผักสวนครัว
1. ใช้รับประทานเป็นอาหารโดยอาจรับประทานสดๆ เช่น แตงกวา กะหล่ำปลี
หรือนำไปปรุงเป็นอาหารก่อน ซึ่งผักแต่ละชนิดจะมีสารอาหารที่แตกต่างกัน
เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ เป็นต้น
2. ใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรค เช่น หอม กระเทียม ขิง สะระแหน่ เป็นต้น
3. ใช้ขายเพื่อเป็นรายได้ของครอบครัว
4. ทำให้ผู้ปลูกมีร่างกายแข็งแรง เพราะต้องพรวนดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ย และดูแลผัก
อยู่เสมอ ทำให้ได้ออกกำลังกายไปในตัว
5. ทำเป็นรั้วบ้านได้ คือ ปลูกล้อมกั้นเป็นเขตของบ้าน ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า
“ผักสวนครัว รั้วกินได้” เช่น กระถิน ชะอม ตำลึง มะระ เป็นต้น

อ้างอิง www.wikiidentity.com/ความหมายและประโยชน์ของพืชผักสวนครัว/

วิธีปลูกผักสวนครัวง่ายๆ


มาดูวิธีปลูกผักสวนครัวง่าย ๆ ที่คุณเองก็ทำได้ หากคุณเป็นคนที่มีใจรักในการปลูกต้นไม้ใบหญ้าและเป็นคนมือเย็น ปลูกอะไรก็ขึ้นก็งอกงามแล้วล่ะก็ เราขอแนะนำให้ปลูกผักสวนครัวกินเองเลยค่ะ เพราะบางต้นไม่เพียงนำมาประกอบอาหารได้เท่านั้น แต่ยังมีสรรพคุณทางยาที่ดีมากด้วยนะคะ นอกจากนี้ บางต้นยังเหมาะกับการตกแต่งสวนหลังบ้านของเราด้วยค่ะ ส่วนจะเลือกผักหรือเลือกต้นไม้แบบไหนมาปลูกผักสวนครัวนั้น หลักการเลือกคือต้อง ปลูกง่าย ดูแลง่าย กินง่าย นะคะ ไม่ต้องซับซ้อนมาก เราจะได้มีเวลาดูแลยังไงล่ะคะ และวันนี้เราก็มีตัวเลือกผักสวนครัว พร้อมวิธีการปลูกผักสวนครัวแบบง่าย ๆ มาฝากกันค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลยจ้า

1. ใบกะเพรา

สรรพคุณ

ใบกะเพราสด นำมาต้มให้เดือดและกรองเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง นอกจากนี้ยังใช้ขับเสมหะ ขับเหงื่อ หรือ ใช้ทาภายนอกแก้โรค ผิวหนัง กลากเกลื้อนได้ สำหรับเมล็ดกะเพรามีสรรพคุณใช้พอกบริเวณตา ทำให้ผง หรือฝุ่น ละอองที่เข้าตาออกมาโดยไม่ทำให้ตาช้ำด้วย ส่วนรากที่แห้งแล้ว นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ อย่างไรก็ตาม สรรพคุณสำคัญของใบกะเพรา ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้กันทั้งที่ใช้บริโภคกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ก็คือ สรรพคุณขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ตำรับอาหารไทยส่วนใหญ่มักมีใบกะเพราะเป็นส่วนผสมอยู่ด้วยนั่นเอง

วิธีการปลูก

วิธีการปลูกใบกะเพราก็ไม่ยากเลย เพียงแค่เริ่มจากเตรียมแปลงปลูก ก่อนหว่านเมล็ดลงไป แต่คุณอาจจะเริ่มจากการปักชำก้านที่เหลือจากการซื้อมาทำกับข้าวก็ได้นะคะ พอต้นโตออกดอก เมล็ดที่หล่นก็งอกต้นใหม่อีกหลายต้น หลังเพาะประมาณ 7 - 10 วัน เมล็ดเริ่มงอก พอผ่านไป 15 - 30 วัน จึงเริ่มใส่ปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟต 1- 2 ช้อนชาต่อน้ำ 10 ลิตร รดทุก 5 - 7 วันได้ สำหรับการรดน้ำ ให้รดน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอทุกวัน หลังปลูกไปประมาณ 30 - 35 วันก็เก็บกินได้แล้วค่ะ ส่วนเคล็ดลับที่จะทำให้ต้นกะเพราเก็บกินใบได้นาน ๆ ก็คือ อย่าให้ออกดอก พอออกดอกแล้วต้นจะโทรม อายุสั้น ถ้าออกดอกก็ให้หมั่นตัดทิ้งเป็นระยะ

2. โหระพา
สรรพคุณ

โหระพามีสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่หลากหลาย ใบสดของโหระพามีสรรพคุณแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมจากลำไส้ ต้มดื่มแก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร แก้หวัด ขับเหงื่อ ถ้าเด็กปวดท้อง ใช้ใบโหระพา 20 ใบ ชงน้ำร้อนและนำมาชงนมให้เด็กดื่มแทนยาขับลมได้ ส่วนเมล็ดแก่ นำมาแช่น้ำตำพอกหรือประคบแก้ไขข้ออักเสบ แผลอักเสบ หรือ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบายอ่อน ๆ เพื่อแก้อาการท้องผูก โดยนำเมล็ดแก่แช่น้ำให้พองตัวเต็มที่รับประทานกับขนมหวานโดยผสมกับน้ำหวานและน้ำแข็ง นอกจากนี้ นำใบโหระพาแห้งมาบดเป็นผง ใช้รักษาอาการเหงือกอักเสบเป็นหนองได้

วิธีการปลูก

โหระพาเป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวได้ 1 - 2 ปี เริ่มจากการเตรียมดินควรมีความร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ต่อมาเริ่มขั้นตอนการปลูกควรทำในเวลาเย็น วิธีการปลูกที่นิยมมี 2 วิธีด้วยกัน คือ การปักชำและการเพาะเมล็ด โหระพาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูงและสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงควรมีการรดน้ำให้ทุกวัน แต่ระวังอย่าปล่อยให้มีการท่วมขังของน้ำในแปลง ในระยะแรกควรทำการพรวนดินและกำจัดพืชทุก ๆ 1 - 2 สัปดาห์ ถ้าจะใส่ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ละลายน้ำรดหลังปลูกประมาณ 15 - 20 วัน จะทำให้เจริญเติบโตดียิ่งขึ้น หลังจากปลูกประมาณ 30 - 35 วัน สามารถทำการเก็บเกี่ยวได้แล้วค่ะ เช่นเดียวกับใบกะเพราค่ะ อย่าให้ออกดอก ถ้าออกดอกก็ตัดทิ้ง ๆ เรื่อย ๆ นะคะ จะทำให้เก็บกินใบโหระพาได้นาน ๆ ค่ะ



3. ผักบุ้ง

สรรพคุณ

สำหรับผักบุ้งที่ทานกันอยู่มี 2 ประเภท คือ ผักบุ้งไทย และ ผักบุ้งจีน ผักบุ้งไทยจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งอื่น แต่สำหรับผักบุ้งจีนจะมีแคลเซี่ยม และเบต้า-แคโรทีน มากกว่า ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของผักบุ้งไทยต้นขาวคือ ดอก ใบ ต้น และราก ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกัน

- ดอก ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน

- ต้นสด ใช้ดับพิษ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดอาการแพ้ อักเสบ บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน เป็นยาดับร้อน แก้ปัสสาวะเหลือง - ทั้งต้น ใช้แก้โรคประสาท ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย แก้กลาก เกลื้อน แก้เบาหวาน แก้ตาอักเสบ บำรุงสายตา แก้เหงือกบวม แก้ฟกช้ำ ถอนพิษ

- ใบ ใช้ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย นำใบสดมาตำ แล้วคั้นเอาน้ำมาดื่ม จะทำให้อาเจียน ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้พิษของฝิ่นและสารหนู มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

- ราก ใช้แก้ไอเรื้อรังและแก้โรคหืด ถอนพิษผิดสำแดง ใช้แก้สตรีมีตกขาวมาก เบาขัด เหงื่อออกมาก ลดอาการบวม

วิธีการปลูก

ผักบุ้งที่คนรับประทานส่วนใหญ่ คือ ผักบุ้งจีน ซึ่งปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว การดูแลรักษาง่าย สามารถปลูกได้ตลอดปี และขึ้นได้ในดินทุกชนิด เริ่มจากการหว่านเมล็ด ต้นกล้าจะเริ่มงอก 2 - 3 วันหลังหยอดเมล็ด ผักบุ้งชอบดินที่มีความชื้นสูง ดั้งนั้น ควรให้น้ำบ่อย ๆ อย่าให้ขาดน้ำ เพราะผักบุ้งอาจจะชะงักการเจริญ แคระแกรน และไม่จำเป็นต้องกำจัดศัตรูพืชเพราะเป็นผักที่มีอายุสั้นและเจริญเติบโตเร็วมาก สามารถขึ้นคลุมพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว หลังจากหว่านเมล็ดประมาณ 25 - 30 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้โดยใช้มือถอนทั้งราก แล้วนำมาล้างให้สะอาด หรือหากไม่ถอน สามารถใช้มือเด็ดหรือมีดตัดยอดไปบริโภคและปล่อยโคนไว้

4. พริก

สรรพคุณ

นอกเหนือจากการเป็นเครื่องปรุงให้มีรสเผ็ด - รสแซ่บแล้ว พริก ยังมีสรรพคุณในทางการแพทย์ด้วย เช่น สารสำคัญที่มีในพริก คือ แคปไซซิน สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหารได้ นอกจากนั้น พริกยังช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด ลดการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน อีกทั้งพริกยังช่วย ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากพริกเป็นพืชผักที่มีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ สารแคปไซซินในพริกยังช่วยเสริมสร้างอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ เนื่องจากสารตัวนี้เป็นสารที่มีส่วนในการส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสารเอนดอร์ฟินซึ่งมีคุณสมบัติบางประการที่สำคัญคล้ายมอร์ฟีน คือ บรรเทาอาการเจ็บปวด ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น

วิธีการปลูก

การปลูกพริกนั้นทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่นำเมล็ดพริกไปหยอดในหลุมที่เตรียมไว้หลุมละ 3 - 5 เมล็ดกลบแล้วก็รดน้ำ สำหรับพริกเป็นพืชที่ทนแล้งดีกว่าทนน้ำ แต่ในระยะที่พริกเริ่มออกดอก พริกจะต้องการน้ำมากกว่าปกติ ช่วง 3 วันแรกควรให้น้ำวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น และค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนผ่านไป 7 สัปดาห์ก็ให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พริกจะเริ่มให้ผลผลิตหลังจากปลูกแล้ว 2 เดือนครึ่งถึง 3 เดือน ในระยะแรกผลผลิตจะได้น้อยและจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ควรเก็บเกี่ยวอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ผลผลิตจะเริ่มลดลงเมื่อพริกเริ่มแก่

5. สะระแหน่

สรรพคุณ

สะระแหน่ ใช้เป็นยาคลายความกดดันของกล้ามเนื้อที่เกิดจากความเหนื่อยล้าและความเครียด น้ำมันสาระแหน่ช่วยขจัดลมร้อน ใช้เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการหวัดลมร้อน สามารถรักษาอาการปวดศีรษะ หน้ามืดตาลาย ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง นำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำช่วยรักษาอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในกระเพาะ บิด ท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด หรือ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด ทั้งยังช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก และสะระแหน่ยังใช้ไปทำน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในการทำสุคนธบำบัด อีกทั้งยังใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์

วิธีการปลูก

ใช้การปักชำ โดยเลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่เกินไป ปักจิ้มลงไปในแปลงเพาะชำหรือแปลงปลูกที่มีดินร่วนซุย ปักให้กิ่งเอนทาบกับดิน รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้ถึงกับแฉะแล้วโรยแกลบทับกลบดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้หน้าดิน ประมาณ 4 - 5 วันก็จะ แตกใบ แตกยอดเลื้อยคลุมดิน ต้นสะระแหน่ชอบดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี และต้องการแสงสว่าง แต่ไม่ต้องการแดดที่ร้อนจัดจนเกินไป จะปลูกในที่ร่มหรือในที่แดดก็ได้ ควรรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ จะทำให้สะระแหน่เจริญเติบโตเร็วขึ้น

6. ตะไคร้

สรรพคุณ

ทั้งต้นตะไคร้ ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ ส่วนหัวตะไคร้ ใช้เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ซาง ลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ แก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ ส่วนราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย

วิธีการปลูก

ตะไคร้เป็นพืชที่มีอายุหลายปี ปลูกง่ายเจริญได้ดีในดินแทบทุกชนิด เริ่มจากการเตรียมดิน โดยใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้เข้ากับดินขุดหลุมปลูก นำพันธุ์ตะไคร้ที่เตรียมไว้ตัดใบออก ให้เหลือต้นยาว ประมาณ 30 - 40 เซนติเมตร มาแช่น้ำประมาณ 5 - 7 วัน เพื่อให้รากงอก รากที่แก่เต็มที่จะมีสีเหลืองเข้ม นำไปปลูกในแปลง วางต้นพันธุ์ให้เอียง 45 องศาไปด้านใดด้านหนึ่งแล้วกลบดิน จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกได้ประมาณ30 วัน ก็ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 หรือ 46 - 0 - 0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ควรให้น้ำพอหน้าดินชื้น ประมาณ 1 - 2 วันจึงรดน้ำครั้งหนึ่ง เก็บเกี่ยวเมื่อตะไคร้อายุประมาณ 90 วัน

7. มะกรูด
สรรพคุณ

ใช้ผลสด นำมาประกอบอาหาร หรือนำมาดองใช้เป็นยาฟอกเลือดในสตรี ขับลมในลำไส้ ขับระดู แก้ลมจุกเสียด แก้โรคลักปิดลักเปิด และใช้บำรุงประจำเดือน หรือใช้ผลสด นำมาผิงไฟให้เกรียมแล้ว ละลายให้เข้ากับน้ำผึ้ง ใช้ทาลิ้นให้เด็กที่เกิดใหม่ นอกจากนี้ ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้แน่น แก้เสมหะ โดยฝานผิวมะกรูดสดเป็นชิ้นเล็ก ๆ 1 ช้อนแกง เติมการบูร หรือ พิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1 - 2 ครั้ง หรือนำมาใช้สระผมทำให้ผมสะอาดชุ่มชื้น เป็นเงางาม ดกดำ ผมลื่นด้วย หรือใช้มะกรูดเผาไฟ นำมาผ่าซีกใช้สระผม จะรักษาชันนะตุ ส่วนน้ำมะกรูดใช้ถูฟัน แก้เลือดออกตามไรฟันได้ด้วยนะ

วิธีการปลูก

มะกรูดปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ควรปลูกด้วยกิ่งตอน ก่อนจะปลูกควรนำปุ๋ยคอกมาใส่ผสมกับดิน เพื่อให้ดินมีอาหารอุดมสมบูรณ์ดี ในระยะที่ปลูกมะกรูดใหม่ ๆ ต้องหมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่พืช จะทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว แตกใบอ่อนกิ่งอ่อนดี ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้พืชเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และปุ๋ยชีวภาพก็ได้ หรือปลูกมะกรูดด้วยเมล็ด ให้นำเมล็ดไปแช่น้ำประมาณ 6 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มความชื้นภายในเมล็ดทำให้เมล็ดงอกได้ง่าย นำเมล็ดไปปลูกลงในถุงเพาะชำแกลบดำประมาณ 3 - 4 เมล็ดต่อถุง ทำการรดน้ำทันที เพราะในแกลบดำจะมีความโปร่งมาก ไม่อมน้ำ ประมาณ 20 - 25 วันเมล็ดมะกรูดก็จะงอกออกมา หลังจากนั้นประมาณ 1 - 2 เดือนก็สามารถนำไปปลูกลงดินได้


8. ข่า

สรรพคุณ

ใช้เหง้าข่าแก่สด ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง หรือ ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะ ๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ รักษาลมพิษ โดยทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อย ๆ จนกว่าจะดีขึ้น นอกจากนี้ยังใช้รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง โดยใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลาย ๆ ครั้งจนกว่าจะหาย

วิธีการปลูก

ข่าเป็นพืชกินหัวหรือเหง้าส่วนที่อยู่ใต้ดิน เราใช้หัวหรือแง่งแก่จัดของข่าเดิม ซึ่งที่หัวแม่นี้จะมีข้อและที่ข้อจะมีตา และที่ตานี่เองจะงอกเป็นหน่อโผล่พ้นดินขึ้นมา จากนั้นก็จะแตกหัวแขนงออกมาอีก จากหลาย ๆ หน่อที่ปลูกก็จะแตกออกกลายเป็นกอใหญ่ที่มีหัวหรือเหง้าจำนวนมาก ธรรมชาติของพืชหัวหรือเหง้า จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ต้องการความชื้นสม่ำเสมอและต้องการแสงแดด 100% สำหรับในช่วงอากาศหนาวเย็นการเจริญเติบโตจะช้าลง หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 15 - 20 วัน รากจะเริ่มเดิน ในช่วงนี้ควรให้น้ำ 2 - 3 วัน/ครั้ง และให้น้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเอง 7 - 10 วันครั้ง การขุดขึ้นมาแต่ละครั้ง ไม่ควรขึ้นขึ้นมาหมดทั้งกอ ให้เหลือไว้ 3 - 4 แง่ง เพื่อเป็นต้นพันธุ์

9. กระเฉด

สรรพคุณ

ช่วยในการดับพิษร้อน พร้อมกับสามารถถอนพิษไข้และพิษเบื่อเมาได้ และในผักกระเฉดนั้น ยังมีประโยชน์และมีวิตามิน ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ แคลเซียม รวมถึงธาตุเหล็กด้วย

นอกจากนี้ ผักกระเฉดนั้นยังเป็นพืชผักที่มีแร่ธาตุ พร้อมทั้งวิตามินที่สูงและที่สำคัญก็คือ มีแคลเซียมพร้อมทั้ง มี ฟอสฟอรัส ที่ยังเป็นแร่ธาตุเหล็กมีปริมาณที่สูงมาก ทั้งยังมีวิตามินซี ไนอะซิน คือวิตามินบีชนิดหนึ่ง ฉะนั้นแล้วจึงมีประโยชน์สำหรับกระบวนการ การเผาผลาญของสารอาหารที่สร้างพลังงานในร่างกายของคนเราเป็นอย่างดีด้วย

วิธีการปลูก

การเตรียมพื้นที่ที่จะปลูกผักกระเฉด เริ่มจากการหาพื้นที่ที่มีคันดินกั้นน้ำได้ สูงประมาณ 1 เมตร อาจทำการปลูกแบบลอยแพหรือดำกอในสระได้ ต่อมาเตรียมพันธุ์ผักที่อวบใหญ่ มีปล้องยาว และไม่มีโรค ใบเหลือง ใบหยิก เพื่อทำการปลูก สำหรับวิธีการบำรุง คือ นำน้ำที่ได้จากการหมักจากผัก ผลไม้เหลือทิ้ง + น้ำตาล + หัวเชื้อ ลงไปพร้อมกับน้ำที่เติมลงในสระ ส่วนวิธีการกำจัดศัตรูพืช คือ ให้ใช้ผงสะเดา ผสมในอัตราส่วน 30 - 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทำการพ่นทุก ๆ วัน หรือหากพบปัญหาโรคโคนเน่า แก้ไขด้วยการปรับสภาพน้ำให้เป็นกลางด้วยซิลิเกตและพ่นยากำจัดเชื้อรา เริ่มต้นจากการปลูกรอประมาณ 3 เดือน ก็สามารถตัดยอดอ่อนแรกได้แล้วค่ะ

10. ผักหวาน

สรรพคุณ
- ราก แก้ไข้ ระงัดความร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้กลับ เนื่องจากกินของแสลง รักษาโรคอีสา แก้โรคมะเร็งคุด รักษาโรคคางทูม

- ใบ รับประทานแก้ปวดเมื่อยร่างกาย เป็นยาบำรุงสุขภาพหลังคลอดบุตร

- ใบและราก ใช้ตำพอกแผล ฝี

- ยอด โรคโลหิตจาง ผิวหนังแห้ง ไข้ร้อนใน ตามัว

วิธีการปลูก

นำกิ่งพันธุ์ผักหวานที่ได้ทำการขยายพันธุ์โดยการปักชำ นำมาปลูกในแปลงยกร่อง แล้วคลุมด้วยฟาง เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืชขึ้น ระยะแรกควรให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หลังจากผักหวานมีอายุได้ 2 – 3 เดือน ก็ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง เมื่อผักหวานอายุ 1 เดือน ควรกำจัดวัชพืช พร้อมใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด อัตราต้นละ 1 กำมือ หรือประมาณ 50 กิโลกรัม/ไร่ ผักหวานจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 2 – 3เดือน โดยเว้นระยะห่าง 7 วัน เก็บได้ 1 ครั้ง หลักจากเก็บเกี่ยวยอดผักหวานได้ 4 - 5 ครั้ง ให้ตัดแต่งกิ่งต้นผักหวาน โดยให้ผักหวานเหลือความสูง 50 - 60 เซนติเมตร แล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด




อ้างอิง :http://home.kapook.com/view44743.html